วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บทที่ 4 การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบเวิร์กกรุ๊ปด้วย Windows XP Professional

จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
1.             สามารถสร้างสายแลนชนิด RJ-45 ได้ด้วยตนเอง
2.             เข้าใจหลักการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบเวิร์กกรุ๊ป
3.             สามารถติดตั้งเครือข่ายแบบเวิร์กกรุ๊ปบน Windows XP ได้
4.             สามารถนำความรู้การติดตั้งเครือข่ายแบบเวิร์กกรุ๊ปไปประยุกต์ใช้งานจริงได้อย่างเหมาะสม
ขั้นตอนการสร้างสายแลนชนิด RJ-45
                ในเบื้องต้นของการเชื่อมโยงเครือข่ายแบบเวิร์กกรุ๊ปจำเป็นต้องมีสายแลน ซึ่งสามารถหาซื้อสำเร็จรูปได้ตามห้างร้านไอทีทั่วไป โดยจะต้องคัดเลือกสายให้ถูกต้อง ว่าจะใช้สายแบบต่อตรง(Straight Through) หรือใช้สายแบบไขว้ (Crossover) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการ แต่กรณีต้องการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เพียง 2 เครื่อง หากใช้สายแบบไขว้ ก็ไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ฮับหรือสวิตช์
สำหรับอุปกรณ์ที่จะต้องเตรียมเพื่อดำเนินการสร้างสายแลนมีดังนี้
1.             สายยูทีพี CAT-5 ที่มีความยาวเหมาะสมกับการใช้งาน (แต่ไม่เกิน 100 เมตร)
2.             หัวเชื่อมต่อหรือปลั๊ก RJ-5 จำนวน 2 หัว
3.             คีมย้ำหัว RJ-5
4.             มีดคัดเตอร์
สำหรับปลายสายอีกฝั่งหนึ่ง ในกรณีที่ต้องการสร้างสายแลนแบบเชื่อมต่อตรง ก็ให้ดำเนินการตามนี้ ก็จะต้องทำการเรียงสีสายสัญญาณใหม่ ดังนี้
ขาวเขียว/เขียว,ขาวส้ม/น้ำเงิน,ขาวน้ำเงิน/ส้ม,ขาวน้ำตาล/น้ำตาล
ขั้นตอนการติดตั้งเครือข่ายแบบเวิร์กกรุ๊ปด้วย Windows XP ข้อกำหนดเบื้องต้น
                เพื่อให้การติดตั้งเครือข่ายเวิร์กกรุ๊ปตามตัวอย่างต่อไปนี้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามต้องการ ดังนี้
1.             เตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องที่  1 (Computer#1)
2.             เตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องที่  2 (Computer#2)
3.             เปลี่ยนมุมมองของเมนูเป็นชนิด Classic Start Menu
4.             เปลี่ยนมุมมองของ Control Panel เป็น Classic View
คอมพิวเตอร์เครื่องที่ 1 (Computer#1)  ที่ติดตั้ง Windows XP Service Pack 2 เรียบร้อยแล้ว

คอมพิวเตอร์เครื่องที่ 2(Computer#2)  ที่ติดตั้ง Windows XP Service Pack 2 เป็นที่เรียบร้อยแล้วเช่นกัน

แสดงรายละเอียดของระบบปฏิบัติการ ซึ่งในที่นี้คือ Windows XP Professional  Service Pack 2

ขั้นตอนการเปลี่ยนมุมมองของเมนูให้เป็นชนิด Classic Start Menu
1.ไปที่ทาสก์บาร์แล้วคลิกขวาที่เมาส์เลือกรายการ Properties
2.คลิกที่แท็บ Start Menu
3.เลือกรายการคำสั่ง Classic Start menu
4.กดปุ่ม OK
ก็จะได้เมนูใหม่ในมุมมองของ Classic Start menu ดังนี้

ขั้นตอนการเปลี่ยนมุมมองของ Control Panel ให้เป็น Classic View
1.คลิกปุ่ม Start
2.เลือกเมนู Settings
3.เลือกเมนู Control Panel
4.คลิกที่ Switch to Classic View
ก็จะได้มุมมอง Control Panel ในรูปแบบ Classic Viewตามรายการดังนี้
การกำหนดหมายเลขไอพีแอดเดรสให้กับคอมพิวเตอร์เครื่องแรก
ให้นำสายแลนแบบไขว้ที่สร้างขึ้นมาเสียบเข้ากับซ็อกเก็ตแลนทั้งสองเครื่อง หรือกรณีมีอุปกรณ์ฮับ ก็ได้ดำเนินการเสียบเข้ากับฮับได้เลย แต่กรณีนี้จะต้องเป็นสายแลนแบบต่อตรงที่ไม่ใช่แบบไขว้
1.ให้สังเกตที่ทาสก์บาร์แสดงถึงคอมพิวเตอร์ที่ยังไม่ได้เชื่อมต่อสาย โดยหลังจากที่ต่อสายแลนเข้ากับคอมพิวเตอร์แล้ว ไอคอนนี้ก็จะเป็นซึ่งหมายความว่ายังไม่สามารถเชื่อมต่อได้ ทั้งนี้เนื่องจากยังไม่ได้มีการกำหนดค่านั่นเอง

2.ที่Control Panel ให้ดับเบิลคลิกที่ไอคอน Network Connection
3.จะเกิดไดอะล็อกบ็อกซ์ชื่อ Network Connectionsขึ้นมาโดยให้นำเมาส์ไปชี้ แล้วคลิกขวาที่ไอคอน Local Area Connection แล้วเลือกรายการ Properties
4.คลิกที่แท็บ General
5.คลิกเครื่องหมายถูกทั้งหมดตามรูป ซึ่งปกติจะถูกกำหนดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จากนั้นให้คลิกที่รายการ Internet Protocol(TCP/P)จนเกิดแถบสี
6.คลิกปุ่ม Properties
7.เลือกรายการคำสั่ง Use the following IP address ทั้งนี้เนื่องจากต้องการกำหนดหมายเลขไอพีแอดเดรสเอง
8.กรอกหมายเลข IP:192.168.0.1 และ Subnet mask: 255.255.255.0
9.ตามด้วยปุ่ม OK
10.แล้วคลิกที่เซ็กบ็อกซ์ Show icon notification area when connected เพื่อให้แสดงไอคอนตรงทาสก์บาร์เมื่อได้รับการเชื่อมต่อ

วันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ลักษณะการเชื่อมโยงเครือข่าย

ลักษณะการเชื่อมโยงเครือข่าย
ลักษณะการเชื่อมโยงเครือข่ายในที่นี้หมายถึง การสร้างเส้นทางหรือลิงก์(Link) เพื่อเชื่อมโยงระหว่างอุปกรณ์ให้สามารถสื่อสารกันได้ ซึ่งมีอยู่ 2 ลักษณะด้วยกันคือ
  1. การเชื่อมโยงเครือข่ายแบบจุดต่อจุด (Point to Point)  เป็นการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์สองอุปกรณ์ที่เชื่อมโยงถึงกันเท่านั้น โดยช่องทางการสื่อสารจะถูกจับจองสำหรับอุปกรณ์ เพื่อใช้สื่อสารระหว่างกัน อย่างไรก็ตาม หากโหนดคู่ใดที่ไม่มีสายส่งถึงกัน ก็สามารถสื่อสารโดยผ่านโหนดที่อยู่ติดกัน เพื่อส่งทอดต่อไปเรื่อย ๆ จนถึงโหนดปลายทางที่ต้องการ
ข้อดีและข้อเสียของการเชื่อมโยงแบบจุดต่อจุด
ข้อดี
  • สามารถใช้ความเร็วในการสื่อสารระหว่างกันได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นจึงเหมาะสมกับการส่งข้อมูลได้คราวละมาก ๆ แบบต่อเนื่องกันไป
  • เนื่องจากมีการติดต่อสื่อสารกันเพียงสองโหนด ดังนั้นจึงมีความปลอดภัยในข้อมูล
ข้อเสีย
  • หากเครือข่ายมีจำนวนโหนดมากขึ้น ก็จะต้องใช้สายสื่อสารมากขึ้นจามลำดับ
  • ไม่เหมาะกับเครือข่ายขนาดใหญ่
     2.การเชื่อมโยงเครือข่ายแบบหลายจุด (Multi-Point)  เป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายที่ใช้เส้นทางหรือลิงก์เพื่อการสื่อสารร่วมกัน กล่าวคือ อุปกรณ์ต่าง ๆ สามารถสื่อสารระหว่างกันได้ด้วยการใช้ลิงก์หรือสายสื่อสารเพียงเส้นเดียว ดังนั้นวิธีการเชื่อมโยงชนิดนี้ทำให้ประหยัดสายส่งข้อมูลกว่าแบบแรกมาก โดยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่แล้วจะใช้วิธีการเชื่อมโยงแบบหลายจุด


ข้อดีและข้อเสียของการเชื่อมต่อแบบหลายจุด
ข้อดี
  • ประหยัดสายส่งข้อมูล
  • การเพิ่มเติมโหนดสามารถเพิ่มได้ง่ายด้วยการเชื่อมต่อเข้ากับสายส่งที่ใช้งานร่วมกันได้ทันที
ข้อเสีย
  • หากสายส่งข้อมูลขาด จะส่งผลกระทบต่อระบบเครือข่าย
  • เนื่องจากใช้สายส่งข้อมูลร่วมกัน ดังนั้นต้องมีกลไกเพื่อควบคุมการส่งข้อมูล
  • ไม่เหมาะสมกับการส่งข้อมูลแบบต่อเนื่องที่มีข้อมูลคราวละมาก ๆ


รูปแบบการเชื่อมโยงเครือข่าย(Topologies)


เครือข่ายท้องถิ่นสามารถเชื่อมโยงเครือข่ายให้อยู่ตามมาตรฐาน 3 รูปแบบด้วยกัน ที่เรียกว่าโทโปโลยี ซึ่งประกอบด้วยโทโปโลยีแบบบัส แบบดาว และแบบวงแหวน
   


     โทโปโลยีแบบบัส (Bus Topology)
การเชื่อมโยงเครือข่ายตามมาตาฐานโทโปโลยีแบบบัสจัดเป็นโทโปโลยีแรกที่นำมาใช้บนเครือข่ายท้องถิ่น จากรูปที่3.3 แสดงถึงเครือข่ายที่เชื่อมโยงในรูปแบบบัส จะพบว่ามีสายเคเบิลเส้นหนึ่งซึ่งทำหน้าที่เป็นสายแกนหลักสำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์บนเครือข่ายทั้งหมด
  ในการเชื่อมโยงต่อสายเคเบิลจะต้องมีอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่เรียกว่าแท็ป(Tap) เพื่อนำไปประกอบเข้ากับคอนเน็กเตอร์ของการ์ดเครือข่าย โดยอุปกรณ์แท็ปที่กล่าวมานี้ก็คือตัวทีคอนเน็กเตอร์ (T-Connector) ที่ใช้บนเครือข่ายท้องถิ่นแบบ 10Base2 นั่นเอง
  สำหรับเครือข่ายแบบบัส สายเคเบิลตรงจุดปลายทั้งสองฝั่งจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า เทอร์มิเนเตอร์(Terminator) ปิดไว้ที่ปลายสายซึ่งอุปกรณ์เทอร์มิเนเตอร์นี้จะเป็นอุปกรณ์ช่วยดูดซับสัญญาณ เพื่อมิให้เกิดการสะท้อนกลับของสัญญาณกรณีที่สัญญาณวิ่งมาถึงจุดปลายของสายเคเบิล
    ข้อดีและข้อเสียของโทโปโลยีแบบบัส
ข้อดี
·       มีรูปแบบโครงสร้างไม่ซับซ้อน ติดตั้งง่าย
·       การเพิ่มโหนดสามารถเพิ่มต่อเข้ากับสายแกนหลักได้ทันที
·       ประหยัดสายส่งข้อมูล เนื่องจากทุกโหนดสามารถเชื่อมต่อเข้ากับสายแกนหลักได้ทันที
ข้อเสีย
·       หากสายแกนหลักเกิดขาด เครือข่ายทั้งระบบจะหยุดการทำงาน
·       กรณีเครือข่ายหยุดการทำงาน ตรวจสอบจุดเสียค่อนข้างยาก
·       แต่ละโหนดที่เชื่อมต่อบนเครือข่ายจะต้องอยู่ห่างกันตามข้อกำหนด

โทโปโลยีแบบดาว(Star Topology)
    การเชื่อมโยงเครือข่ายตามมาตรฐานโทโปโลยีแบบดาวจะมีอุปกรณ์สำคัญชิ้นหนึ่งที่เรียกว่าฮับ(Hub) โดยคอมพิวเตอร์ทุกโหนดบนเครือข่ายจะต้องเชื่อมโยงสายเคเบิลเข้ากับฮับ ดังนั้นฮับจึงเปรียบเสมือนเป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อของเครือข่ายทั้งหมด
อะไรก็ตาม ระบบเครือข่ายในภาพรวมของโทโปโลยีแบบดาวจะมีความคงทนมากกว่าแบบบัส กล่าวคือ หากสายเคเบิลของโหนดใดโหนดหนึ่งเกิดขาดหรือเสียหายขึ้นมา จะส่งผลกระทบต่อคอมพิวเตอร์โหนดนั้นเท่านั้น โหนดอื่นๆบนเครือข่ายก็ยังคงใช้งานได้อยู่เหมือนเดิม แต่ถ้าหากอุปกรณ์ฮับเกิดเสียหายขึ้นมา ระบบเครือข่ายก็จะหยุดการทำงานเช่นกัน
ข้อดีและข้อเสียของโทโปโลยีแบบดาว
ข้อดี
·       มีความคงทนสูงกว่าแบบบัส โดยหากสายเคเบิลบางโหนดเสียหาย จะไม่กระทบต่อโหนดอื่นๆ
·       การวิเคราะห์จุดเสียบนเครือข่ายทำได้ง่ายกว่า เนื่องจากมีฮับเป็นศูนย์กลาง
ข้อเสีย
·       สิ้นเปลืองสายเคเบิล เนื่องจากทุกๆโหนดต้องมีสายเคเบิลเชื่อมโยงเข้ากับฮับ
·       พอร์ตเชื่อมต่อบนฮับมีจำนวนจำกัด แต่ถ้าหากใช้งานจนเต็ม ก็สามารถเชื่อมโยงฮับตัวที่สองได้ แต่นั่นหมายถึงต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม
·       หากอุปกรณ์ฮับเสียหาย เครือข่ายจะหยุดการทำงานทันที

โทโปโลยีแบบวงแหวน(Ring Topology)
    โทโปโลยีแบบวงแหวนนั้น โหนดแรกและโหนดสุดท้ายจะเชื่อมโยงถึงกัน จึงทำให้เกิดมุมมองทางกายภาพเป็นรูปวงกลมขึ้นมา แต่ละโหนดบนเครือข่ายแบบวงแหวนนั้นจะส่งทอดสัญญาณไปในทิศทางเดียวกัน ด้วยการส่งทอดไปยังทีละโหนดถัดไปเรื่อยๆนั่นหมายความว่าแต่ละโหนดบนเครือข่ายจะทำหน้าที่เป็นเครื่องทวนสัญญาณไปในตัวนั่นเอง
ข้อดีและข้อเสียของโทโปโลยีแบบวงแหวน
ข้อดี
·       สิทธิในการส่งข้อมูลแต่ละโหนดภายในเครือข่ายมีความเท่าเทียมกัน
·       ประหยัดสายเคเบิล
·       การติดตั้งไม่ยุ่งยาก รวมถึงการเพิ่มหรือลดโหนดทำได้ง่าย
ข้อเสีย
·       สายเคเบิลที่ใช้เป็นวงแหวน หากเกิดชำรุดเสียหาย เครือข่ายจะหยุดการทำงานลง
·       หากมีบางโหนดบนเครือข่ายเกิดขัดข้อง จะยากต่อการตรวจสอบและค้นหาโหนดที่เสีย
สถาปัตยกรรมเครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์และไคลเอนต์/เซิร์ฟเวอร์
   โดยทั่วไปแล้ว เครือข่ายท้องถิ่นตามหน่วยงานหรือสำนักงานทั่วไปสามารถเชื่อมต่อเพื่อใช้งานตามสถาปัตยกรรมเครือข่ายที่เหมาะสม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านขนาดของเครือข่าย ความต้องการด้านความปลอดภัย และงบประมาณเป็นสำคัญ
เครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์(Peer-to-peer Network)
   เครือข่ายประเภทนี้ เครื่องคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายจะมีสิทธิเท่าเทียมกัน ไม่มีเครื่องใดเครื่องหนึ่งทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์โดยเฉพาะ โดยสามารถเป็นได้ทั้งผู้ให้บริการ(Server) และผู้ขอบริการ (Client) ในขณะเดียวกัน
 ทั้งนี้อยู่กับการติดตั้งเพื่อใช้งานตามแต่ลักษณะเป็นสำคัญ
จุดประสงค์ของเครือข่ายเพียร์ทูเพียร์ก็คือ ต้องการแชร์ข้อมูลเพื่อใช้งานภายในเครือข่ายเป็นหลักสำคัญ ดังนั้นเครือข่ายประเภทนี้จึงไม่ได้มุ่งเน้นศักยภาพด้านระบบความปลอดภัยเช่นเดียวกับเครือข่ายแบบไคลเอนต์/เซิร์ฟเวอร์ อย่างไรก็ตาม ข้อดีของเครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์ก็คือ สามารถติดตั้งได้ง่ายโดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญอย่างการติดตั้งเครือข่ายแบบไคลเอนต์/เซิร์ฟเวอร์ รวมถึงต้นทุนการติดตั้งที่ต่ำกว่า ส่วนข้อเสียที่สำคัญก็คือ ระบบความปลอดภัยที่ค่อนข้างต่ำ อีกทั้งไม่สามารถเชื่อมโยงเครื่องลูกข่ายจำนวนมากๆได้ ดังนั้นกรณีที่ต้องการขยายระบบด้วยการมีจำนวนเครื่องลูกข่ายเชื่อมโยงจำนวนมาก ก็จำเป็นต้องเปลี่ยนมาใช้เครือข่ายแบบไคลเอนต์/เซิร์ฟเวอร์
    ในปัจจุบัน ด้วยระบบปฏิบัติการวินโดวส์ที่พัฒนามาจนถึงทุกวันนี้ ทำให้ผู้ใช้งานทั่วไปสามารถสร้างเครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์ขึ้นมาใช้งานได้ด้วยตนเองโดยไม่ยาก เพียงแต่มีอุปกรณ์เครือข่ายที่สำคัญ เช่น การ์ดเครือข่าย สายเคเบิลยูทีพี และอุปกรณ์ฮับหรือสวิตช์ ก็สามารถติดตั้งใช้งานได้แล้วซึ่งในบทต่อไปจะกล่าวถึงวิธีการติดตั้งเครือข่ายประเภทนี้
ข้อดีและข้อเสียของโทโปโลยีแบบเพียร์ทูเพียร์
ข้อดี
·       ลงทุนต่ำ เหมาะสำหรับเครือข่ายขนาดเล็ก จำนวน10-20เครื่อง
·       ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาผู้ดูแลระบบ(Admin) โดยผู้ใช้งานแต่ละคนสามารถกำหนดสิทธิเพื่อแชร์ใช้งานบนเครือข่ายได้ด้วยตนเอง
·       ไม่จำเป็นต้องใช้ระบบปฏิบัติการเครือข่าย เนื่องจากสามารถสร้างเครือข่ายประเภทนี้ได้จากระบบปฏิบัติการวินโดวส์ทั่วไปได้ทันที เช่น Windows-98, Windows-2000, Windows-XPหรือWindows-Vistaได้ทันที
ข้อเสีย
·       ไม่เหมาะกับเครือข่ายขนาดใหญ่
·       หากเครื่องที่เปิดแชร์ถูกเครื่องอื่นๆบนเครือข่ายเข้าถึงข้อมูลด้วยจำนวนความถี่คราวละมากๆเครื่องดังกล่าวจะทำงานสะดุดหรือช้าลงอย่างเห็นได้ชัด
·       มีระบบความปลอดภัยที่ค่อนข้างต่ำ
                การสำรองข้อมูลมีความยุ่งยาก เนื่องจากข้อมูลกระจายจัดเก็บไปตามแต่ละเครื่อง
เครือข่ายแบบไคลเอนต์/เซิร์ฟเวอร์(Client/Sever Network)
    เครือข่ายประเภทนี้จะมีเครื่องศูนย์บริการ ที่เรียกว่าเครื่องเซิร์ฟเวอร์ และมีเครื่องลูกข่ายต่างๆเชื่อมโยง โดยเครือข่ายหนึ่งๆอาจมีเครื่องเซิร์ฟเวอร์มากกว่าหนึ่งตัวเชื่อมต่อภายในวงแลนเดียวกันก็เป็นได้ ซึ่งเซิร์ฟเวอร์แต่ละตัวก็รับผิดชอบหน้าที่ที่แตกต่างเช่น
·       ไฟล์เซิร์ฟเวอร์(File Server) คือเครื่องที่ทำหน้าที่บริการแฟ้มข้อมูลให้แก่เครื่องลูกข่าย
·       พรินต์เซิร์ฟเวอร์ (Print Server) คือเครื่องที่ทำหน้าที่บริการงานพิมพ์ให้แก่เครื่องลูกข่าย โดยบันทึกงานพิมพ์เก็บไว้ในรูปแบบของสพูล (Spool) และดำเนินการพิมพ์งานตามลำดับคิว
·       ดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์ (Database Server) คือเครื่องทีทำหน้าที่บริการฐานข้อมูลให้แก่เครื่องลูกข่าย
·       เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) คือเครื่องที่จัดเก็บข้อมูลด้านเว็บเพจขององค์กร เพื่อให้ผู้ท่องอินเตอร์เน็ตสามารถเข้าถึงเว็บขององค์กรได้
·       เมลเซิร์ฟเวอร์ (Mail Server) คือเครื่องที่ทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลด้านจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Mail ที่มีการรับส่งระหว่างกันภายในเครือข่าย
ข้อดีและข้อเสียของเครือข่ายแบบไคลเอนต์/เซิร์ฟเวอร์
ข้อดี
·       มีความปลอดภัยสูง
·       มีประสิทธิภาพสูง สามารถเชื่อมต่อเครื่องลูกข่ายได้จำนวนมาก
·       สำรองข้อมูลได้ง่าย เนื่องจากสามารถสำรองข้อมูลจากเครื่องเซิร์ฟเวอร์ได้เพียงเครื่องเดียว
·       มีความน่าเชื่อถือสูง
ข้อเสีย
·       ระบบมีความซับซ้อน ดังนั้นจำเป็นต้องพึ่งพาผู้ดูแลระบบ ซึ่งต้องมีความเชี่ยวชาญด้านระบบเครือข่าย
·       มีค่าใช้จ่ายสูง
โปรโตคอลควบคุมการเข้าถึงสื่อกลาง
โปรโตคอลควบคุมการเข้าถึงสื่อกลางจัดเป็นส่วนหนึ่งของซอฟต์แวร์ที่อนุญาตให้เครื่องลูกข่ายสาสารถส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย และด้วยเครือข่ายท้องถิ่นเป็นเครือข่ายแบบบรอดคาสต์ที่ใช้วิธีการส่งข้อมูลแบบเบสแบนด์ ที่อนุญาตให้เครื่องลูกข่ายสามารถส่งข้อมูลภายในเครือข่ายเพียงเครื่องเดียวในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ นั้นหมายความว่าช่วงเวลาหนึ่งเครื่องต้องส่งข้อมูลในช่วงเวลาเดียวกันก็เป็นได้ และด้วยเงื่อนไขที่ว่าจะมีเพียงเครื่องหนึ่งนั้นที่สามารถส่งข้อมูลได้ในช่วงเวลาขณะนั้น ดังนั้นข้อมูลที่ส่งจึงอาจชนกันได้ และหากมีการชนกันของกลุ่มข้อมูลขึ้นภายในสายส่ง จะต้องมีกระบวนการจัดการส่งข้อมูลรอบใหม่
กระบวนการส่งข้อมูลแบบเบสแบนด์จะแตกต่างจากเครือข่ายที่ส่งข้อมูลแบบบรอดแบนด์ตรงที่ บรอดแบนด์จะอนุญาตให้สามารถส่งข้อมูลได้หลายแชนเนลในช่วงเวลาเดียวกัน แต่วิธีการส่งข้อมูลแบบบรอดแบนด์นี้จะมีกระบวนนี้จะมีกระบวนจัดการที่ยุ่งยากกว่ามากเมื่อเทียบกับเบสแบนด์
สำหรับโปรโตคอลพื้นฐานที่จะกล่าวต่อไปนี้ก็คือ โปรโตคอลCSMA/CD(Carrier Sense Multiple Access with Collision Detection)ซึ่งจัดเป็นโปรโตคอลตัวหนึ่งที่นำมาใช้เป็นโปรโตคอลควบคุมการเข้าถึงสื่อกลางบนเครือข่ายท้องถิ่น โดยโปรโตคอลCSMA/CDจะมีกลไกการทำงานดังนี้
กลไกที่ 1 การตรวจฟังสัญญาณ (Carrier Sense) เป็นกลไกสำหรับตรวจฟังสัญญาณในสื่อกลาง หรือสายส่งข้อมูลในขณะนั้นว่าว่างหรือไม่ หากสายสัญญาณในขณะนั้นว่าง จึงจะสามารถส่งข้อมูลได้ แต่ต้องเข้าใจว่าในช่วงเวลานั้นเครื่องลูกข่ายเครื่องอื่นอาจกำลังต้องการส่งข้อมูลพอดี และได้มีการตรวจฟังสัญญาณในขณะนั้นว่าว่างเช่นเดียวกัน ดังนั้นเหตุการณ์นี้เอง จึงจัดเป็นเหตุการณ์หนึ่งที่นำไปสู่การชนกันของกลุ่มข้อมูลได้ในเวลาต่อมา
           กลไกที่2การเข้าถึงถึงสื่อกลางร่วมกัน (Multiple Access) เครือข่ายท้องถิ่นโดยเฉพาะเครือข่ายอีเทอร์เน็ต เครื่องลูกข่ายทุกเครื่องจะมีสิทธิเท่าเทียมกันในการส่งข้อมูลบนสื่อกลาง กล่าวคือทุกๆเครื่องบนเครือข่ายจะใช้สายส่งเดียวกันเพื่อส่งข้อมูลร่วมกันอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน ดังนั้นหากมีตรวจฟังสัญญาณในสายว่าว่าง ก็สามารถส่งได้ทันที 
       ครั้นเมื่อทั้งโหนดAและBได้ส่งข้อมูลผ่านสายส่งพร้อมกัน ในเวลาต่อมา ข้อมูลของโหนดAและBก็ได้เกิดเหตุการณ์การชนกันของกลุ่มข้อมูลขึ้น ทำให้ข้อมูลที่ชนกันเกิดความเสียหาย ข้อมูลที่ส่งไปจึงใช้การไม่ได้อีกต่อไป
    กลไกที่3การตรวจจับการชนกัน (Collision Detection) หากภายในสายส่งข้อมูลเกิดเหตุการณ์การชนกันของกลุ่มข้อมูลขึ้น นั่นหมายความว่าข้อมูลที่ส่งไปในขณะนั้นใช้การไม่ได้อีกต่อไปนี้ ดังนั้นกลไกของวิธีนี้ก็คือ จะรายงานผลว่ามีการชนกันของกลุ่มข้อมูลขึ้นภายในสายส่ง ครั้นเมื่อเครือข่ายได้รับทราบรายงานแล้ว ก็จะให้เครื่องลูกข่ายที่ส่งข้อมูลในขณะนั้นรอสักครู่หนึ่ง เพื่อสุ่มเวลาในการส่งข้อมูลรอบใหม่บนช่วงเวลาที่แตกต่างกัน ดังนั้นโอกาสที่จะเกิดการชนกันในรอบใหม่จึงลดน้อยลง
ระบบเครือข่ายท้องถิ่น(Local Area Networks: LAN)
ระบบเครือข่ายท้องถิ่นที่นิยมสูงสุดมีอยู่ 3 ชนิดด้วยกันคือ
1.อีเทอร์เน็ต (Ethernet)
 2.ไอบีเอ็มโทเค็นริง (IBM Token Ring)
3.เอฟดีดีไอ (Fiber Data distr ibuted Interface: FDDI)
อีเทอร์เน็ต
เครือข่ายอีเทอร์เน็ตจัดเป็นเครือข่ายท้องถิ่นชนิดแรกที่นำมาใช้ในแวดวงธุรกิจในราวปีค..1979และนับจากนั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน อีเทอร์เน็ตก็เป็นเครือข่ายที่มีความนิยมสูงสุด รูปแบบการเชื่อมต่อของเครือข่ายอีเทอร์เน็ตตั้งอยู่บนพื้นฐานเครือข่ายแบบบัสตามมาตรฐาน IEEE 802.3ด้วยการใช้โปรโตคอลCSMA/CDเป็นตัวจัดการเพื่อการเข้าถึงสื่อกลาง โดยมาตรฐาน802.3แบบดั้งเดิมได้กำหนดรูปแบบการเชื่อมต่อไว้3รูปแบบด้วยกัน10 Bases5, 10Bases2และ10Bases Tที่ส่งข้อมูลบนความเร็ว10เมกะบิตต่อวินาที
10 Bases5รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบ10 Bases5จัดเป็นแบบมาตรฐานแรกของเครือข่ายอีเทอร์เน็ต โดยคำว่า Bases ในที่นี้หมายถึงการส่งสัญญาณแบบเบสแบนด์ด้วยการเข้ารหัสแมนเชสเตอร์ สำหรับสัญญาณเบสแบนด์ก็คือสัญญาณดิจิตอลที่ส่งบนสื่อกลางที่มีเพียงแถบความถี่เพียงแชนเนลเดียว ส่วนหมายเลข10Mbpsคือมีความเร็วในการส่งข้อมูลที่10เมกะบิตต่อวินาที ในขณะที่หมายเลข5จะหมายถึงความยาวสูงสุดของสายเคเบิลต่อหนึ่งเซกเมนต์ ซึ่งเท่ากับ500เมตร
ข้อกำหนดของ10 Bases5จะใช้สายโคแอกเชียลแบบหนา รหัสRG-8หรือที่มักเรียกว่าThicknetซึ่งเป็นสายสีเหลืองชนิดหนา มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง0.4 นิ้วจึงเป็นที่มาของชื่อว่าThicknetนั่นเอง บนสายจะมีแถบสีดำในทุกๆ2.5เมตร เพื่อใช้เป็นตำแหน่งติดตั้งทรานซีฟเวอร์เพื่อเชื่อมโยงเข้ากับโหนด โดยระยะห่างของแต่ละโหนดที่เชื่อมโยงกันจะต้องมีระยะห่างกัน2.5เมตร ส่วนการ์ดเครือข่ายจะมีช็อกเก็ตเชื่อมต่อแบบAUIและใช้เทอร์มิเนเตอร์ชนิดN-Seriesที่มีความต้านทานทางไฟฟ้า 50โอห์ม ปิดปลายสายเคเบิลทั้งสองฝั่ง

บทสรุปข้อกำหนดตามมาตรฐานอีเทอร์เน็ตแบบ10 Bases5คือ
1.ส่งข้อมูลแบบเบสแบนด์
2.ความเร็วในการส่งข้อมูล10เมกะบิตต่อวินาที
3.ใช้สายโคแอกเชียลแบบหนา รหัสRG-8
4.ระยะไกลที่สุดในการเชื่อมโยงต่อหนึ่งเซกเมนต์คือ500เมตร
5.แต่ละโหนดที่ติดตั้งบนสาย ต้องห่างกัน2.5เมตร
6.ภายในหนึ่งเซกเมนต์ เชื่อมต่อโหนดได้ไม่เกิน 100เครื่อง และหากใช้รีพีตเตอร์เพื่อเพิ่มระยะทาง ก็จะสามารถขยายได้สูงสุด5เซกเมนต์ รวมเป็นระยะทาง2,500เมตร
7.ใช้การ์ดเครือข่ายที่มีซ็อกเก็ตแบบAUI
8.ใช้เทอร์มิเนเตอร์แบบN-Seriesที่มีความต้านทานทางไฟฟ้า50โอห์ม
   10Base2รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบ10Base2อาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Thinnetเนื่องจากใช้สายโคแอกเชียลแบบบาง มีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง0.25นิ้ว แต่การใช้สายที่บางกว่า จึงส่งผลต่อการเชื่อมโยงที่ได้มาซึ่งระยะทางที่สั้นลงตามมา สำหรับรายละเอียดของ10Base2จะคล้ายกับ10Base5คือส่งข้อมูลแบบเบสแบนด์ ด้วยความเร็ว10เมกะบิตต่อวินาที โดยหมายเลข2หมายถึงความยาวสูงสุดของสายเคเบิลต่อหนึ่งเซกเมนต์ เท่ากับ185เมตร
    ข้อกำหนดของ10Base2จะใช้สายโคแอกเชียลแบบบางรหัสRG-58A/Uระยะห่างของแต่ละโหนดที่เชื่อมโยงกันต้องมีระยะห่างกันไม่ต่ำกว่า0.5เมตร ส่วนการ์ดเครือข่ายจะมีหัวเชื่อมต่อแบบ BNC และเมื่อเชื่อมต่อเข้ากับโหนด ต้องใช้อุปกรณ์แท็ปที่เรียกว่าทีคอนเน็กเตอร์ โดยใช้เทอร์มิเนเตอร์ที่มีความต้านทานทางไฟฟ้า50โอห์ม ปิดปลายสายเคเบิลทั้งสองฝั่ง

บทสรุปข้อกำหนดตามมาตรฐานอีเทอร์เน็ต10Base2คือ
1.ส่งข้อมูลแบบเบสแบนด์
2.ความเร็วในการส่งข้อมูล10เมกะบิตต่อวินาที
3.ใช้สายโคแอกเชียลแบบบาง รหัสRG-58 A/U
4.ระยะไกลสุดในการเชื่อมโยงต่อหนึ่งเซกเมนต์คือ185เมตร
5.แต่ละโหนดที่ติดตั้ง ต้องห่างกันอย่างน้อย 0.5เมตร
6.ภายในหนึ่งเซกเมนต์ เชื่อมต่อโหนดได้ไม่เกิน 30 เครื่อง และหากใช้รีพีตเตอร์เพื่อเพิ่มระยะทาง ก็จะสามารถขยายได้สูงสุด5เซกเมนต์รวมระยะทางประมาณ 1,000 เมตร
7.ใช้การ์ดเครือข่ายที่มีซ็อกเก็ตแบบBNC
8.ใช้เทอร์มิเตอร์ที่มีความต้านทานทางไฟฟ้า 50 โอห์ม
10BaseTการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบ10BaseTสามารถเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าTwisted-Pair Ethernetโดยใช้สายยูทีพี และหัวเชื่อมต่อแบบRJ-45 ส่งข้อมูลแบบเบสแบนด์ด้วยความเร็ว10เมกะบิตต่อวินาที ความยาวสูงสุดของสายที่เชื่อมต่อระหว่างฮับกับแต่ละโหนดยาวได้ไม่เกิน 100 เมตร
    ข้อกำหนดตามมาตรฐาน10BaseTจะใช้สายยูทีพี รหัสCAT-3หรือCAT-5ใช้การ์ดเครือข่ายที่มีซ็อกเก็ตแบบ RG-45โดยโหนดต่างๆบนเครือข่ายจะเชื่อมโยงเข้าศูนย์กลางที่เรียกว่าฮับ
บทสรุปข้อกำหนดตามมาตรฐานอีเทอร์เน็ตแบบ 10BaseT คือ
1.             ส่งข้อมูลแบบเบสแบรนด์
2.             ความเร็วในการส่งข้อมูล 10 เมกะบิตต่อวินาที
3.             ใช้สายเคเบิลชนิดยูทีพี (UTP: Unshielded Twisted Pair) รหัส CAT-3 หรือ CAT-5
4.             มีอุปกรณ์ฮับเป็นศูนย์กลางรับส่งข้อมูลบนเครือข่าย
5.             ระยะไกลสุดในการเชื่อมโยงต่อหนึ่งเซกเมนต์ หรือจากฮับไปยังโหนดยาวได้ไม่เกิน 100 เมตร
6.             ภายในหนึ่งเซกเมนต์เชื่อมต่อโหนดได้หลายร้อยเครื่อง ทั้งนี้จะต้องติดตั้งสแต็กฮับที่เชื่อมต่อฮับหลายตัวเข้าด้วยกัน
7.             ใช้การ์ดเครือข่ายที่มีซ็อกเก็ตแบบ RJ-45
และจากกระแสความนิยมของเครือข่ายแบบ 10BaseT นี้เอง จึงทำให้เครือข่ายตามมาตรฐาน 10BaseT นี้ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้สามารถรับส่งข้อมูลได้เร็วกว่า 10 เมกะบิตต่อวินาทีเช่น
§  สวิตช์เทอร์เน็ต (Switched Ethernet) จัดทำเป็นเครือข่าย 10BaseT แบบเดิม เพียงแต่ใช้อุปกรณ์สวิตช์แทนฮับ ทำให้การรับส่งข้อมูลรวดเร็วขึ้น เนื่องจากสวิตช์สามารถส่งข้อมูลไปยังพอร์ตที่ต้องการได้ ซึ่งแตกต่างจากฮับที่จะแพร่ข้อมูลที่ส่งไปยังทุก ๆ พอร์ต
§  อีเทอร์เน็ตความเร็วสูง (Fast Ethernet) เป็นเครือข่ายที่พัฒนาความเร็วมาเป็น 100 เมกะบิต หรือ
§  กิกะบิตอีเทอร์เน็ต (Gigabit Ethernet) เป็นเครือข่ายที่พัฒนาความเร็วมาเป็น 1,000 เมกะบิตต้อวินาที หรือ 1 กิกะบิตต่อวินาที (Gbps) ด้วยการใช้การ์ดเครือข่ายแบบกิกะบิตสวิตช์ รวมถึงสายเคเบิลแบบใยแก้วนำแสง
ไอบีเอ็มโทเค็นริง
โปรโตคอล CAMA/CD ที่ใช้งานบนเครือข่ายอีเทอร์เน็ต เป็นกลไกการส่งข้อมูลบนเครือข่ายที่มีโอกาสเกิดการชนกันของกลุ่มข้อมูลสูงเมื่อการจราจรบนเครือข่ายหนาแน่น ในขณะเดียวกันโปรโตคอล Token Passing ที่ใช้งานบนเครือข่ายโทเค็นริงนั้นจะก่อให้เกิดการชนกันของกลุ่มข้อมูลเลย กลไกการทำงานของ Token Passing ก็คือ ในช่วงเวลาหนึ่งจะมีเพียงโหนดเดียวที่สามารถส่งข้อมูลในขณะนั้นได้ นั่นก็คือโหนดที่ครอบครองโทเค็น โดยโทเค็นจะไปพร้อมกับข้อมูลที่ส่งไปยังโหนดภายในวงแหวน หากโหนดใดได้รับข้อมูลพร้อมรหัสโทเค็น แล้วตรวจสอบพบว่าไม่ใช่ข้อมูลที่ส่งมายังตน ก็จะส่งทอดไปยังโหนดถัดไปภายในวงแหวน ไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงโหนดปลายทางที่ต้องการครั้นเมื่อครบวงรอบแล้ว รหัสโทเค็นก็จะเข้าสู่สภาวะว่างอีกครั้งหนึ่ง ด้วยการส่งทอดรหัสว่างไปตามวงแหวนผ่านโหนดต่าง ๆ เป็นวงรอบ และพร้อมที่จะให้โหนดอื่น ๆ ครอบครองโทเค็นเพื่อการส่งข้อมูลในรอบต่อไป สำหรับสายเคเบิลที่ใช้งานบนเครือข่ายไอบีเอ็มโทเค็นริง สามารถใช้สายแบบเอสทีพีหรือยูทีพีก็ได้ พร้อมหัวปลั๊กเชื่อมต่อชนิด IBM-Type1

เอฟดีดีไอ (Fiber Distributed Data Interface: FDDI)
                หน่วยงาน ANSI ได้กำหนดโปรโตคอลที่ใช้งานบนเครือข่ายท้องถิ่น โดยมีการควบคุมแบบโทเค็นริง ส่งข้อมูลด้วยความรวดเร็ว 100 เมกะบิตต่อวินาทีบนสายเคเบิลใยแก้วนำแสง กลไกการส่งข้อมูลบนเครือข่ายเอฟดีดีไอจะใช้ Token Passing เช่นเดียวกับไอบีเอ็มโทเค็นริง แต่เอฟดีดีไอจะทำงานด้วยความเร็วสูงกว่า ประกอบกับเครือข่ายเอฟดีดีไอยังสามารถออกแบบเพื่อรองรับความเสียหายของระบบได้ ด้วยการเพิ่มวงแหวนในเครือข่ายอีก รวมเป็น 2 วงแหวนด้วยกัน ซึ่งประกอบด้วยวงแหวนปฐมภูมิและแหวนทุติยภูมิ
§  วงแหวนปฐมภูมิ(Primary Ring) คือวงแหวนหลักด้านนอกซึ่งใช้เป็นสายส่งข้อมูลหลักภายในเครือข่าย โดยรหัสโทเค็นจะวิ่งรอบวงแหวนทิศทางใดทิศทางหนึ่ง
§  วงแหวนทุติยภูมิ (Secondary Ring) คือวงแหวนสำรองที่อยู่ด้านในโทเค็นที่อยู่วงแหวนด้านในจะวิ่งในทิศทางตรงกันข้ามกับวงแหวนด้านนอก โดยวงแหวนทุติยภูมิจะถูกใช้งานเมื่อวงแหวนปฐมภูมิเกิดปัญหา เช่น สายเคเบิลที่วงแหวนปฐมภูมิขาด และเมื่อเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น วงจรภายในวงแหวนทุติยภูมิก็จะเริ่มทำงานด้วยการเชื่อมต่อเข้ากับวงแหวนปฐมภูมิทันที ทำให้สามารถประคับประคองระบบให้ยังคงทำงานต่อไปได้ โดยโทเค็นก็ยังคงสามารถวิ่งภายในรอบวงแหวนได้เช่นเดิม ทำให้เครือข่ายสามารถดำเนินการได้ตามปกติ ซึ่งหลักการทำงานเป็นไปดังรูป
สรุปท้ายบทที่ 3
                ลักษณะการเชื่อมโยงเครือข่าย หมายถึงการสร้างเส้นทางหรือลิงก์เพื่อเชื่อมโยงระหว่างอุปกรณ์ให้สามารถสื่อสารกันได้ ซึ่งมีอยู่ 2 ลักษณะด้วยกันคือ
1.             การเชื่อมโยงเครือข่ายแบบจุดต่อจุด (Point-to-Point)
2.             การเชื่อมโยงเครือข่ายแบบหลายจุด(Multi-Point)
เครือข่ายท้องถิ่นสามารถเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายให้อยู่ใน 1ใน 3 โทโปโลยีด้วยกันคือ
1.             โทโปโลยีแบบบัส
  1. โทโปโลยีแบบดาว
  2. โทโปโลยีแบบวงแหวนรูปแบบเครือข่ายที่มีเครื่องเซิร์ฟเวอร์เป็นศูนย์บริการข้อมูลเรียกว่า สถาปัตยกรรมเครือข่ายแบบไคลเอนต์/เซิร์ฟเวอร์
รูปแบบเครือข่ายที่ไม่มีเครื่องใดเครื่องหนึ่งเป็นเซิร์ฟเวอร์ โดยทุกเครื่องบนเครือข่ายมีความเสมอภาคเท่าเทียมกันเรียกว่า เครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์
ข้อดีของเครือข่ายแบบไคลเอนต์/เซิร์ฟเวอร์คือ ระบบมีประสิทธิภาพสูง มีระบบควบคุมความปลอดภัยที่ดี และสามารถเชื่อมโยงเครื่องลูกข่ายได้จำนวนมาก
ข้อเสียเครือข่ายแบบไคลเอนต์/เซิร์ฟเวอร์คือ ต้นทุนการติดตั้งค่อนข้างสูงและต้องพึ่งพาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ
จุดประสงค์ของเครือข่ายเพียร์ทูเพียร์ก็คือ ต้องการแชร์ข้อมูลใช้งานภายในเครือข่ายเป็นหลักสำคัญ
ข้อดีของเครือข่ายเพียร์ทูเพียร์คือ สามารถติดตั้งได้ง่ายรวมถึงต้นทุนการติดตั้งที่ต่ำกว่า
ข้อดีของเครือข่ายเพียร์ทูเพียร์คือ ระบบความปลอดภัยที่ค่อนข้างต่ำ อีกทั้งไม่สามารถเชื่อมโยงเครื่องลูกข่ายจำนวนมาก ๆ ได้
โปรโทคอล CSMA/CD จะมีกลไกในการทำงานดังนี้
1.             การตรวจฟังสัญญาณ
2.             การเข้าถึงสื่อกลางร่วมกัน
3.             การตรวจจับการชนกัน
ระบบเครือข่ายท้องถิ่นที่นิยมสูงสุดมีอยู่  3 ชนิดด้วยกันคือ
  1. อีเทอร์เน็ต
  2. ไอบีเอ็มโทเค็นริง
  3. เอฟดีดีไอ
อีเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่ได้รับความนิยมสูงสุด รูปแบบการเชื่อมต่อของเครือข่ายอีเทอร์เน็ตตั้งอยู่บนพื้นฐานของเครือข่ายแบบบัสตามมาตรฐาน IEEE 802.3 ด้วยการใช้โปรโทคอล CSMA/CD เป็นตัวจัดการเพื่อการเข้าถึงสื่อกลางข้อมูล
มาตรฐาน 802.3 แบบดั้งเดิมได้กำหนดรูปแบบการเชื่อมต่อไว้ 3 รูปแบบด้วยกันคือ 10Base5, 10Base2และ10BaseT ที่ส่งข้อมลบนความเร็ว 10 เมกะบิตต่อวินาที
โปรโทคอล CSMA/CD เป็นโปรโทคอลที่ใช้งานบนเครือข่ายอีเทอร์เน็ต ในขณะที่โปรโทคอล Token Passing ใช้งานบนเครือข่ายโทเค็นริงและเอฟดีดีไอ
เอฟดีดีไอจะทำงานด้วยความเร็ว 100 เมกะบิตต่อวินาที โดยสามารถออกแบบเพื่อรองรับกรณีเครือข่ายเสียหายจากสายเคเบิลขาด ด้วยการเพิ่มวงแหวนในเครือข่ายรวมเป็น 2 วงแหวนด้วยกัน ซึ่งประกอบด้วยวงแหวนปฐมภูมิและวงแหวนทุติยภูมิ
หากวงแหวนปฐมภูมิซึ่งเป็นวงแหวนหลักเกิดขาด วงจรของวงแหวนทุติยภูมิจะทำงานทันทีด้วยการเชื่อมต่อเข้ากับวงแหวนปฐมภูมิ ทำให้เครือข่ายยังคงสามารถดำเนินการต่อไปได้ และโทเค็นก็ยังสามารถวิ่งรอบภายในวงแหวนได้เช่นเดิม